1. Advice
  2. ข่าวอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
  3. ข่าวอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทย ประจำวันที่ 11 - 15 กันยายน 2566

ข่าวอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทย ประจำวันที่ 11 - 15 กันยายน 2566

KaiBaanThai
โดย KaiBaanThai
Niratchaphon Parnchoem
แก้ไขโดย Niratchaphon Parnchoem
Wacharaporn Laroeng
ตรวจสอบโดย Wacharaporn Laroeng

เซ็นทรัลพัฒนา หนุนลงทุนในตลาดคอนโดภูเก็ตโต ท่ามกลางการท่องเที่ยวฟื้นตัว

จากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูเก็ตหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่รวมไปถึงกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา กำลังขยายการลงทุนบนเกาะภูเก็ตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งก่อนที่จะเกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ภูเก็ตถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีสัดส่วนมากถึง 90% ซึ่งการฟื้นตัวในครั้งนี้ส่วนหนึ่งก็ได้รบการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐและคาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่าง 100% ในปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้นายกรี เดชชัย ประธานฝ่ายธุรกิจที่อยู่อาศัยของกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา ได้เปิดเผยว่าตลาดคอนโดมิเนียมในภูเก็ตจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซิตี้คอนโดประเภทแรกจะเน้นกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่ชื่นชอบคอนโดวิวทะเล ระดับราคาจะอยู่ที่ 200,000 บาท/ตารางเมตร ส่วนซิตี้คอนโดประเภทที่สองจะเป็นคอนโดในเมือง ราคาอยู่ที่ 100,000 บาท/ตารางเมตร เน้นกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มชาวต่าวชาติที่พำนักในประเทศไทย ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาจะวางกลยุทธ์การลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปภายใต้เงินทุน 5,000 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปี

อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/property/1088108

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ปรับตัวท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเชียงใหม่เผชิญกับความท้าทายอย่างหนักหน่วงเนื่องมาจากตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและกำลังซื้อที่ซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง กลับมีแนวโน้มไปในทิศทางบวกมากขึ้น ด้วยการขยับขยายโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น รวมไปถึงสนามบิน เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการควบคุมจากต่างประเทศที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีนที่กำลังลดการลงทุนลง ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ได้กระตุ้นให้นักพัฒนาเพิ่มนวัตกรรมในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากขึ้น รวมไปถึงการเน้นสํกยภาพของบ้านแฝดเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลไทยก็กำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ อีกด้วย

อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/property/1088322

อสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายท่ามกลางกำลังซื้อที่หดตัว

ภาคอสังหาริมทรัพย์ภาคอีสานใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเผชิญความท้าทาย ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคาม ซึ่งข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยตัวเลขบ้านรอขายในครึ่งปีแรก 2566 เพิ่มขึ้นถึง 22.8% ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดส่งผลให้หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้กำลังซื้อหดตัว ในขณะเดียวกันบ้านแฝดที่เคยถูกมองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ราคาประหยัดก็กลับมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนที่ดินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดึงดูดผู้ซื้อได้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดอสังหาฯ ในจังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมาที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากอุดรธานีจะพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลักก็กำลังซบเซา ในขณะที่สภาพแวดล้อมของนครราชสีมามีเสถียรภาพที่ค่อนข้างดีกว่า ไม่เน้นพึ่งพาการท่องเที่ยว เนื่องจากมีประชากรเยอะอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามนายกสมาคมอสังหาฯ ในจังหวัดนครราชสีมาและผู้นำในภาคส่วนต่าง ๆ ของทั้ง 5 จังหวัดได้แสดงความหวังว่าทางภาครัฐจะเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาด้านผลกระทบทางเศรฐกิจในเร็ววัน

อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/property/1088507

Machine Learning: เครื่องมือช่วยในการตัดสินในด้านอสังหาฯ ในอนาคต

Machine Learning (ML) หรือการเรียนรู้ของเครื่อง เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังจะเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญต่อ GDP ของประเทศ เนื่องจาการจัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลสนับสนุนค่อนข้างมาก และมีการบูรณาการความรู้ในหลากหลายศาสตร์ เช่น การเงิน การตลาด การขาย กฎหมาย สถาปัตยกรรม วิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้าง และการบริหารทรัพย์สิน รวมไปถึงยังต้องอาศัยการสั่งสมประสบการณ์ จึงจะสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องและแม่นยำภายในระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด อันเนื่องมาจากการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้นเทคโนโลยี ML จึงปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งแบบแรกจะใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (ANN) ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์อัตราการขายของโครงการแต่ละโครงการ ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคา ฟังก์ชันการทำงาน และสถานที่ตั้ง เป็นต้น และแบบที่สองคือเทคนิคการรวมตัวจำแนกหรือ Classifier Ensemble ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง Decision Tree และเทคนิคต้นไม้กาเดียนบูทสเต็ท (Gradient Boosted Tree: GBT) ที่จะช่วยในการกำหนดประเภทของโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละทำเล โดยจะมีปัจจัยการตัดสินใจหลายข้อได้แก่ ระยะห่างจากถนนหลัก, สถานีรถไฟฟ้าใกล้เคียง, ป้ายรถเมล์, โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้า ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จึงควรเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่เทคโนโลยี ML มอบให้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและแข็งแกร่งให้กับธุรกิจต่อไป

อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/property/1088762

เศรษฐา ทวีสิน: นายกรัฐมนตรีที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในด้านการบริหารอสังหาริมทรัพย์

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของประเทศไทยและอดีตซีอีโอแสนสิริ เป็นที่รู้จักกันในมาดของความเป็นผู้นำที่เด็ดขาดและมีความคิดสร้างสรรค์ จากประสบการณ์บริหารอสังหาริมทรัพย์ในเครือแสนสิริ ที่เขาได้ใช้กลยุทธ์ “Speed to Market” การตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้แสนสิริประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามเพียงเท่านั้น แต่ยังสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ได้อีกด้วย

ความสามารถของเศรษฐา ทวีสิน ในการคิดและมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาเป็นหนึ่งในสิ่งที่เขายึดมั่นในบทบาททางการเมือง ด้วยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและประสบการณ์ในการจัดการกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่เขาทำงานที่แสนสิริ ทำให้เขาเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกทั้งเขายังให้ความสำคัญกับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่โลกทางธุรกิจไปจนถึงการเมือง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความก้าวหน้าอีกด้วย

อ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/property/1088752

บทความก่อนหน้า
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทย ประจำวันที่ 4 - 8 กันยายน 2566
  • Fazwaz Group Sites www.fazwaz.cn www.fazwaz.ru www.fazwaz.fr www.fazwaz.de www.fazwaz.es